.·´`·» ♫~* ยินดีต้อนรับ สู่ บล็อกภาษาไทย *♫~ •·.·´¯`·.·• •·.·´¯`·.·•

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตเป็นหน้าที่ของ..?

      คนทุกคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ จำเป็นต้องมีค่านิยมและทัศนคติเรื่องความ ซื่อสัตย์สุจริตและต้องดำเนินชีวิตโดยมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ดังนั้น การปลูกฝังเรื่อง ความซื่อสัตย์สุจริตจึงต้องเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายในสังคมที่จะต้องช่วยกัน จะยกภาระให้ฝ่าย หนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ ทุกคนต้องมีสำนึกและปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และมีหน้าที่ดูแลช่วยเหลือสร้างจิตสำนึกให้คนอื่นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตด้วย
  องค์กรหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญคือ
            
              1) ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง   ต้องช่วยกันดูแลสร้างและปลูกฝัง จิตสำนึกนี้ด้วยการแนะนำ สั่งสอน ทำตัวอย่างที่ดีให้กับคนในครอบครัวของตน ตัวอย่างนิทาน เรื่อง "สอนลูกให้เป็นโจร" เป็นอุทาหรณ์เตือนใจที่ดี เรื่องนี้เล่าว่า มีพ่อแม่คู่หนึ่งเลี้ยงลูกด้วย ความรักจึงตามใจลูกทุกอย่าง ลูกอยากได้อะไรหาให้ลูก ถ้าผิดก็ไม่ตักเตือน ลูกไปหยิบฉวยของ ผู้อื่นก็ไม่ว่าไม่กล่าวจนเด็กเกิดเป็นนิสัยชอบลักขโมยของผู้อื่น จากของเล็กน้อย ก็เป็นของมีค่า มากขึ้นจนกระทั่งเมื่อโตขึ้นก็เป็นโจรลักของคนอื่นวันหนึ่งไปปล้นทรัพย์ฆ่าเจ้าทรัพย์ตายถูก เจ้าหน้าที่จับได้ จะต้องถูกลงโทษถึงประหารชีวิต พ่อแม่ได้ข่าวก็เสียใจ ขอพบลูก เมื่อลูกได้พบ พ่อแม่ก็ต่อว่าว่าเป็นเพราะพ่อแม่เลี้ยงดูเขาไม่ดี ไม่เคยแนะนำสั่งสอนห้ามปรามเมื่อเขาทำผิด เขาจึงกลายเป็นนักโทษประหาร เช่นนี้ 


              2) โรงเรียนและสถานศึกษา   เป็นสถาบันสำคัญที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาอบรมบ่มนิสัย คือให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง การสร้างนิสัย การประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง หัวใจสำคัญของการศึกษา คือ การทำให้คนเป็นคนดีเป็นคนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นทั้งต่อสังคมที่ตนอยู่อาศัย และต่อประเทศชาติจนถึงมนุษยชาติในที่สุด การสร้างลักษณะนิสัยความซื่อสัตย์สุจริต จึงเป็นเรื่องสำคัญที่โรงเรียนและสถานศึกษาจะต้องให้การเอาใจใส่ดูแลไม่น้อยกว่าการทำให้ผู้เรียนมี ความรู้ และมีลักษณะอื่น ๆ ที่พึงประสงค์การปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตก็เหมือน กับการปลูกฝังคุณลักษณะอื่น ๆ คือต้องทำให้ผู้เรียนเกิดศรัทธา เชื่อว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีที่ทุกคน พึงประพฤติปฏิบัติและต้องให้ผู้เรียนปฏิบัติเป็นกิจนิสัยควบคู่กับการให้ความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้อง และได้เห็นตัวอย่างของจริงที่ถูกต้องด้วย การสร้างนิสัยความซื่อสัตย์สุจริตให้กับเด็ก เป็นเรื่องที่ต้องทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ตลอดเวลาที่เด็กได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในโรงเรียน เพื่อ ให้กระบวนการศึกษาเล่าเรียนเป็นไปอย่างเหมาะสม ทุกฝ่ายในโรงเรียนจะช่วยกันรับผิดชอบ ตั้งแต่ผู้บริหารซึ่งต้องถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ คอยกำกับ ดูแลติดตามอย่างใกล้ชิดกระบวนการเรียนก็ต้องถูกต้องเหมาะสมกับวัยและพื้นฐานของเด็ก ครูที่สอนทุกคนทุกวิชาก็ต้องถือเป็น หน้าที่คอยดูแลเอาใจใส่ กิจกรรมทุกอย่างที่จัดก็ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้องเหมาะสมและส่งเสริมให้เกิดความซื่อสัตย์สุจริตไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเพื่อความรู้ ความบันเทิง หรือการกีฬา ก็ตาม

              3) สถาบันสังคมต่าง ๆ ก็ต้องมีบทบาทส่งเสริมสนับสนุนการสร้างลักษณะนิสัย ความซื่อสัตย์สุจริตวัดและองค์กรทางศาสนาต่าง ๆ จะมีส่วนช่วยได้มากในการอบรม สร้าง ความเชื่อ ความศรัทธาให้เกิดขึ้นสื่อมวลชนต่าง ๆ ก็มีส่วนให้ความรู้ ความตระหนักความสำนึกในความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริตได้มากถ้ามีการยกตัวอย่างคนทำความดีให้ปรากฏเสมอ ๆ ก็จะทำให้สังคมเชื่อมั่นในความดีงานนั้น ๆ ได้มากขึ้นที่สำคัญคือ จะต้องไม่เผลอยกย่องคนไม่ ซื่อสัตย์สุจริตให้คนทั่วไปเห็น เพราะจะทำให้คนทั่วไปรู้สึกว่าเป็นปกติวิสัยที่คนทั่วไปพึงประพฤติ ปฏิบัติได้ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เรามักจะได้ยินได้ฟังอยู่เสมอที่บางครั้งสังคมยกย่องเชิดชูคนที่มี ฐานะดี บริจาคเพื่อสังคมมาก ๆ แต่เคยมีประวัติชื่อเสียงในทางไม่ดีมาก่อนการทำเช่นนี้เป็น อันตรายต่อสังคมรวมมาก ทำให้เยาวชนเห็นว่า ความร่ำรวยมีความสำคัญมากกว่าการเป็นคนดีของสังคม